คลิปสัมภาษณ์



  • ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณ เบญจมาศ แตงไทย

บทสัมภาษณ์ : นักศึกษา :  สวัสดีค่ะ วันนี้มาขอสัมภาษณ์เรื่องทุเรียนนะคะ ชื่อพี่อะไรคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์ :  ชื่อ เบญจมาศ แตงไทยค่ะ
นักศึกษา  :  ตอนนี้อายุเท่าไหร่คะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  35 ค่ะ
นักศึกษา  :  ทำอาชีพอะไรคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ปลูกทุเรียน แล้วก็จำหน่ายกิ่งพันธุ์ทุเรียนในจังหวัดนนท์ค่ะ
นักศึกษา  :  ขอทราบประวัติความเป็นมาของทุเรียนนนท์ได้มั้ยคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  อ่า ทุเรียนนนท์เนี่ยได้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ และก็มีทหารเขาเข้าป่าไปค่ะ ไปเก็บเมล็ดทุเรียนเอามาปลูก เสร็จแล้วเมล็ดทุเรียนที่ปลูกก็คือพันธุ์ทองสุก พอได้เมล็ดทองสุกปุ๊บเค้าก็มาขยายพันธุ์ไปเรื่อยๆอ่ะค่ะ สายพันธุ์ทุเรียนก็จะได้มาจากชื่อ เจ้าของคนที่ขยายพันธุ์ค่ะ
นักศึกษา  :  แล้วแต่ละสายพันธุ์ เอ่อสายพันธุ์ของทุเรียนเนี่ยค่ะ ของทุเรียนนนท์ตอนนี้มีประมาณกี่สายพันธุ์
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  200 กว่าสายพันธุ์ค่ะ มีหลายอย่างจำแนกออกไปอะค่ะ
นักศึกษา  :  อ๋อ ก็คือ พอเอามาเพาะแล้วก็เหมือนมีขยายพันธุ์เพิ่ม
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ก็หมายถึงว่า สมมุติ ว่า ทุเรียนก้านยาวใช่มั้ยคะ ได้มาชื่อก้านยาว ก็ได้มาจากเพาะเมล็ดของทุเรียนพันธุ์ทองสุก ก็จะเป็นก้านยาวแล้วก็ขยายไปเรื่อยๆ อย่างพันธุ์ กบชายน้ำอย่างเงี้ยก็ได้จากการขยายพันธุ์
นักศึกษา  :  เอ่อ แล้วสายพันธุ์ใดที่เป็นที่ขึ้นชื่อของจังหวัดนนท์ตอนเนี้ยคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ก้านยาวค่ะ
นักศึกษา  :  การขยายพันธุ์มีวิธีการขยายยังไงบ้างคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  อ่า ที่สวนเราใช้วิธีการขยายพันธุ์โดยการเสียบยอดก็คือ เพาะเมล็ด เพาะเมล็ดพอตั้งต้นได้ประมาณสัก อ่า 2เดือน 3เดือน แล้วก็ตัดยอดแล้วก็เอายอดไปเสียบ แล้วก็เพาะเลี้ยงมาประมาณ 4 , 5 เดือน ก็จะขายค่ะ
นักศึกษา  :  มีวิธีการปลูกยากง่ายแค่ไหนคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  วิธีการปลูกทั่วไปของทุเรียน คือทุเรียนชอบชื้น แต่ไม่ชอบแฉะ แล้วก็พรวนดินตั้งต้น เสร็จแล้วเอาดินกลบ ไม่ต้องขุดฝังลึกอะค่ะ
นักศึกษา  :  แล้ววิธีการดูแลนี่ ดูแลยากมั้ยคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ดูแลก็อ่า ถ้าใบเป็นขอบใบไหม้ก็เกิดจากอาการเชื้อรา เราก็จะใช้ยาเชื้อรา แต่ถ้าเป็นจากใบร่วง อาจจะเกิดจากการแฉะน้ำ ก็ต้องดูที่น้ำอีกทีค่ะ
นักศึกษา  :  แล้วแบบมีวิธีการบำรุงรักษายังไง
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  อ่า เราจะบำรุงรักษาโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 16 เสมออะค่ะ 3ครั้ง และก็ใส่ปุ๋ยคอกด้วยขี้วัวหรือขี้หมู ประมาณ3ครั้ง ต่อ 1ปีค่ะ บำรุงไปเรื่อยๆจนกว่าต้นจะได้ประมาณ ปี แล้วถึงประมูลเรื่องดอกอีกทีนึง
นักศึกษา  :  แล้วอย่างการสังเกตโรค การผิดปกติของทุเรียนอย่างเงี้ยอะค่ะ ต้องสังเกตุยังไงคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  สังเกตเริ่มจากการเป็นใบจุด ใบจุดก็คือบางครั้งจะขาดสารอาหาร พวกไนโตรเจน แคลเซียมไรพวกเนี้ย เราต้องดูด้วยอีกทีนึง แล้วถ้าเป็นใบไหม้ก็เกิดจากการ อ่า  การคายน้ำของทุเรียน ทำให้เกิดโรคเชื้อรา เข้าแทรกแซง แล้วก็ถ้าเป็นโรคโคนเน่าก็ต้องสังเกตุเปลือกอะค่ะ มันจะมีน้ำไหลเยิ้ม
นักศึกษา  :  แล้วอย่างแต่ละสายพันธุ์เนี่ยค่ะ มันจะมีความที่แบบรสชาติและกลิ่นไรเงี้ยแตกต่างกันไป
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  อ่า รสชาติ รสชาติแตกต่างค่ะ ถ้าเป็นหมอนทองรสชาติจะออกหวานมัน หวานนำกว่ามัน แต่ว่าถ้าเป็นก้านยาวรสขาติจะออกมันมากกว่าหวาน
นักศึกษา  :  แล้วอย่างการค้าอย่างเงี้ยอะค่ะ ได้ผลกำไรแบบดีมั้ย คุ้มค่ากับการที่เราแบบปลูกมั้ย
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ถ้าเป็นทุเรียนนนท์ หมอนทอง ณ ตอนนี้ ลูกละประมาณ พัน แต่ถ้าเป็นก้านยาวลูกสมบูรณ์เลยนะคะ ประมาณ หมื่น สำหรับลูกค้าที่มาซื้อ คือมาจองแล้วมาตัดที่สวนเลย ทางสวนจะไม่มีเอาออกไป
นักศึกษา  :  ไปขายที่อื่น
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ใช่
นักศึกษา  :  ก็คือ ต้องแบบสั่งกับทางร้าน
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ก็คือ มาดูแล้วมาตัดเองที่สวน จะ จะ ไม่เด็ด เอาไปขายข้างนอก
นักศึกษา  :  ก็คือ ให้ลูกค้ามาดูได้เองเลย
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ใช่
นักศึกษา  :  แล้วอย่างความสุกงอมอย่างเงี้ยค่ะ เราต้องดูยังไง สังเกตุยังไง
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  อ่า ทุเรียน จังหวัดนนท์ เค้าใช้วิธีการนับดอกบาน พอดอกบานเป็นเกสรปุ๊บใช่มั้ยคะ ก็นับไป อ่า 110 วัน 120วัน แล้วแต่สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์
นักศึกษา  :  ก็คือเราดูนับตั้งแต่วันที่ดอกบาน
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ใช่
นักศึกษา  :  แล้วแบบเอ่อ เราสามารถใช้ประโยชน์จากทุเรียนอะไรได้บ้าง อย่างแบบสามารถเอาเปลือกไปทำอะไรได้บ้าง อะไรอย่างงี้
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  จริงๆแล้วเราสามารถเอาเปลือกทุเรียนไป หมักทำเป็นปุ๋ยชีวภาพ เพื่อให้เอาไปให้กับต้นทุเรียนที่กิน เพราะ เราต้องดูว่าพืชถ้าเราอยากได้ลูกเราก็ต้องเอาเปลือกหมักเพื่อไปบำรุงให้ลูกเค้าแข็งแรงใหญ่ขึ้น แต่ถ้าเราอยากได้ใบเราก็ต้องเอาใบของทุเรียนไปหมักกับพวกปุ๋ยชีวภาพอะไรเงี้ยแล้วก็ไปให้ทุเรียนกิน เพื่อการเจริญเติบโตของพืชเหมือนกัน 
นักศึกษา  :  แล้วเอ่อ คือตอนเนี้ย คือก้านยาวใช่มั้ยคะที่เป็นที่กล่าวขานของจังหวัดนนท์
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ใช่ค่ะ
นักศึกษา  :  แล้วอยากรู้ว่าเพราะอะไรที่ทุเรียนก้านยาวเนี่ยค่ะถึงเป็นที่กล่าวขานของจังหวัดนนท์ แล้วก็แบบมีแต่คนอยากจะได้
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  รสชาติทุเรียนค่ะ จังหวัดนนท์อะเป็นรสชาติ คือการปลูกของทุเรียนจังหวัดนนท์ โดยการร่อง ใช้ร่องสวนใช่มั้ยคะ และจะปลูกต้นทองหลางแซม แล้วเวลาหลังจากการเก็บเกี่ยวเนี่ย เค้าจะเอาขี้โคลนขี้ดิน ที่อยู่ในท้องร่อง แล้วก็มีเศษใบไม้ ใบทองหลาง ไรงี้ขึ้น ครอบโคน ทำให้รสชาติทุเรียนหวานมันกว่าที่อื่น แล้วจังหวัดนนท์อ่ะเป็นดินที่ตกตะกอนตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายาย ซึ่งจังหวัดอื่นไม่มี เพราะว่าจังหวัดเราอยู่ใกล้ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
นักศึกษา  :  แล้วเท่าที่ทราบมา คือ หมอนทอง เนี่ยค่ะ เป็นต้นกำเนิดขึ้นที่นี่ใช่มั้ยคะ หรือว่า
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  หมอนทองกำเนิดที่ ตำบลบางรักน้อยค่ะ
นักศึกษา  :  โอเคค่ะ ขอบคุณค่ะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ค่า สวัสดีค่ะ


  • ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณ บุญเรือน กุลอิ่ม

บทสัมภาษณ์ : นักศึกษา  :  ค่ะ สวัสดีค่ะ เอ่อ จะขอรบกวนสอบถามเรื่องทุเรียนหน่อยนะคะ อันดับแรกขอถามชื่อก่อนเลยค่ะ ชื่ออะไรคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ชื่อบุญเรือนค่ะ
นักศึกษา  :  อ๋อ อายุเท่าไหร่ตอนนี้
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  65 ค่ะ
นักศึกษา  :  มี ตอนนี้ ทำอาชีพอะไรอยู่คะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ทำสวนค่ะ 
นักศึกษา  :  ตอนนี้ปลูกทุเรียนสายพันธุ์อะไรอยู่คะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  หมอนทองค่ะ หมอนทอง ก้านยาว
นักศึกษา  :  แล้วปลูกยากมั้ยคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ก็ยาก 10 ปีกว่าจะได้กินลูก
นักศึกษา  :  แล้วมีวิธีการดูแลยังไงคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ก็ต้องคอยรดน้ำ พรวนดิน
นักศึกษา  :  อื๋อ แล้วมีการใช้ปุ๋ยอะไรอย่างงี้มั้ยคะ
ผู้ให้สัมภาษณ์  :  ใช้มูลสัตว์
นักศึกษา  :  อ๋อ โอเคค่ะ


บรรณานุกรมสัมภาษณ์

เบญจมาศ แตงไทย. สัมภาษณ์, 8 ตุลาคม 2559.
บุญเรือน กุลอิ่ม. สัมภาษณ์, 8 ตุลาคม 2559.





Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น