ประวัติความเป็นมา


             

                    ทุเรียนได้เข้ามากับกองทัพที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ครั้งที่พระองค์ทรงยกกองทัพไปตีกับเมืองมะริดและตะนาวศรีของประเทศพม่าในปี พ.ศ.2330 แต่ทำการตีไม่สำเร็จ ได้แต่เพียงล้อมเมืองเอาไว้ประมาณ 2-3 วันทำให้เกิดการขาดแคลนเสบียงอาหาร เพราะการคมนาคม ติดต่อกลับไปยังกรุงเทพฯ ในสมัยนั้นลำบากและล่าช้า จึงทำให้พวกนายกองเสบียงออกหาเสบียงอาหารในแถบนั้นมาเลี้ยงกองทัพ และได้พบกับทุเรียนก็เลยนำมารับประทาน และเห็นว่ามีรสชาติหวานอร่อยจึงได้นำเอาเมล็ดของทุเรียนเข้ามายังกรุงเทพฯ แล้วนำไปปลูกไว้ที่บ้าน ดังนั้น จึงมีการพบต้นทุเรียนที่มีอายุประมาณ 100-150 ปีขึ้นไป ที่อยู่ตามบ้านเจ้านายเก่าๆ แต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะว่าเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ขึ้น2ครั้ง ประมาณ พ.ศ.2460 และ พ.ศ.2485 ทำให้ต้นทุเรียนเก่าแก่ล้มตายลงเป็นจำนวนมาก จึงหาดูเป็นหลักฐานอันเก่าแก่ไม่ได้ และอีก1 ความเชื่อ คือเชื่อกันว่า ทุเรียนมาจเมืองทะวาย มะริด และตะนาวศรี แต่ได้มีการแพร่หลายทางภาคใต้ของประเทศไทยก่อน โดยการนำเข้ามาทางเรือสินค้า เพราะในแถบนั้นได้มีการติดต่อค้าขายกันมายาวนาน จึงทำให้ทุเรียนแพร่หลายอยู่ในแถบแหลมมลายูและจังหวัดนครศรีธรรมราชก่อนที่จะมีการนำเข้าเพาะปลูกในกรุงเทพฯ  สำหรับพันธุ์ทุเรียนที่เข้ามาตอนแรกๆ คือ พันธุ์ป่า เพราะต้นทุเรียนที่หลงเหลืออยู่ทางจังหวัด จันทบุรี ระยอง ตราด ชุมพร สุราษฎ์ธานี นครศรีธรรมราช อุตรดิตถ์ เป็นต้น










เอกสารอ้างอิง


นฤมล  มานิพพาน.  ทุเรียนราชาแห่งผลไม้.  กรุงเทพมหานคร :
       เพชรกะรัต, 2537

แสวง.  "ก้านยาวเมืองนนท์".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : travelthaimagazine.com/index.php?
       lay=show&ac=article&Id=412796&Ntype=106. (วันที่ค้นหาข้อมูล : 17 ตุลาคม 2559).

อดิสรณ์  ฉิมน้อย (หนุ่ม).  "ประวัติทุเรียนนนท์".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : duriannon.com/13771276/ประวัติ
       ทุเรียนนนท์/.  (วันที่ค้นหาข้อมูล : 17 ตุลาคม 2559).














Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น