วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

พระตำหนักสง่างาม ลือนามสวนสมเด็จ เกาะเกร็ด แหล่งดินเผา วัดเก่านามระบือ เลื่องลือทุเรียนนนท์ งามน่ายลศูนย์ราชการ






                     ทุเรียนนนท์  ชื่อนี้เลื่องลือกันว่าเป็นทุเรียนที่อร่อยที่สุด  รสชาติเป็นเลิศนั้นแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรกัน   ทุเรียนนนท์หรือในอีกชื่อของคนนนท์ทุเรียนใน”  เป็นทุเรียนที่ผู้คนให้ความนิยมกันมาตั้งแต่อดีต  ทำให้ราคาสูงหาซื้อยาก รับประทานก็ยากเช่นกัน  แต่ทุเรียนนนท์ได้หายไปจากความนิยมช่วงหนึ่ง     เนื่องจาก  มีมากมายที่เข้ามาแทนที่ไม่ว่าทุเรียนจากภาคตะวันออก  ภาคใต้  ล้วนแต่มีคุณภาพเกือบจะแทนที่ทุเรียนของนนทบุรีอยู่แล้ว  สาเหตุที่ทำให้ทุเรียนนั้นหายไปจากนนท์   มีหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะน้ำท่วมปี พ.ศ.2538 และมหาอุทกภัย  ปีพ.ศ.2554  ที่สร้างความเสียหายจากพื้นที่ปลูก 3,475  ไร่เหลือเพียง43 ไร่ให้ผลผลิตแล้วเพียง 16 ไร่  จากพื้นที่ปลูกในทุกอำเภอ   ความเจริญของสังคมเมือง  การเกิดของหมู่บ้าน  การตัดถนนใหม่ๆหลายสาย     ทำให้สภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป  น้ำเสียและ อากาศร้อนหรือปัญหาโลกร้อนด้วยก็ได้   หรือการเปลี่ยนแปลงทางสังคม    ทำให้หลายคนคิดว่าทุเรียนนนท์หายไปแต่ในความเป็นจริง  สิ่งหนึ่งที่เป็นสาเหตุสำคัญหลายคนไม่เคยนึกถึงนั้นคือ  การสืบทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษของชาวสวนนนท์




อ่านต่อได้ที่

http://www.duriannon.com/13771276/
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
เมื่อถามว่าภูมิปัญญาของคนนนท์นั้นสิ้นไปแล้วหรือ ทั้งๆที่มาของพันธุ์ทุเรียนส่วนใหญ่เกิดจากนนทบุรีตั้งแต่ 160 กว่าปีแล้ว ทุเรียนเป็นผลไม้รสดี ราคาแพง มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ในประเทศไทยมีทุเรียนอยู่ 4 ชนิด คือ ทุเรียนปลูก ทุเรียนดอน ทุเรียนนก และทุเรียนป่า ต้นทุเรียนสามารถเติบโตได้ดีในแถบภูมิอากาศร้อน เกาะบอร์เนียว เป็นศูนย์กลางความหลากหลายของพืชสกุลทุเรียนและแพร่ขยายไปสู่ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ อินโดนีเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย

























อ่านต่อได้ที่

http://www.duriannon.com/13771276/




ในวันนี้ ถึงแม้ว่าทุเรียนนนท์ยังไม่สูญพันธุ์ แต่ชาวสวนนนท์ก็พบกับอุปสรรคมากมายไม่ว่าจะเป็น ปัญหาน้ำกร่อยที่หนุนยาวนานขึ้น อากาศที่ร้อนขึ้น และพื้นดินหลังน้ำท่วมที่มีความเป็นกรดสูง จึงจำเป็นต้องปรับสภาพแวดล้อมในสวนให้เหมาะสมก่อนที่จะปลูกทุเรียน ชาวสวนนนท์ยุคนี้จึงต้องมีความตั้งใจจริงและเรียนรู้วิธีการทำสวนอย่างถูกต้อง จากการศึกษาภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย และนำมาปรับใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน “ปกติพื้นที่แถบนี้เป็นดินตะกอนที่มีอินทรียวัตถุทับถมมาก ปลูกพืชผักผลไม้อะไรก็งาม แต่หลังจากน้ำท่วม น้ำใต้ดินที่เป็นกรดถูกดันขึ้นมาอยู่บริเวณผิวดิน ทำให้ดินมีค่า pH สูงถึง 4.5 เราต้องใช้ระยะเวลากว่า 2 ปีในการปรับสภาพดินในสวน โดยให้ฝนชะล้างความเป็นกรดลงใต้ดินและปรับสภาพดินด้วยการปลูกพืชอื่น ๆ ก่อน เช่น ส้มเขียวหวาน กล้วย และทองหลาง”


อ่านต่อได้ที่

http://www.duriannon.com/13771276/